PhillipCapital Your Partner in Investment

poems poems

ศูนย์การเรียนรู้
กลยุทธ์การเลือกหุ้นแบบ Hybrid Fundamental + Technical แบบนี้ก็ได้เหรอ?


กลยุทธ์การเลือกหุ้นแบบ Hybrid

Fundamental + Technical แบบนี้ก็ได้เหรอ?

 
        สวัสดีครับเพื่อนๆ นักลงทุน วันนี้เราจะเริ่มกันที่คำถามนี้เลยครับ “เพื่อนๆ มีวิธีการเลือกหุ้นที่จะซื้ออย่างไร” หลายคนที่เพิ่งเริ่มเทรดสักพักหนึ่ง อาจจะยังไม่มีวิธีในการหาหุ้นของตนเอง หรือมือใหม่ที่อยากจะเข้าตลาด คงอยากจะมีวิธีการเลือกหุ้นที่พอจะเป็นแนวทางให้ตัวเองไว้ใช้ ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตกันใช่ไหมครับ ผมจะมาแนะนำให้เพื่อนได้รู้จักกลยุทธ์การเลือกหุ้น CANSLIM กันครับ
 
CANSLIM เป็นแนวคิดการเลือกหุ้นแบบ Hybrid ที่บอกว่า Hybrid เพราะว่าเป็นการผสมกันระหว่าง 2 สไตล์การลงทุนคือ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) กับ การวิเคราะห์กราฟเทคนิค (Technical) ที่ถูกคิดค้นโดย William J. O'Neil ไว้ใช้คัดหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่องและราคาเคลื่อนไหวแข็งแกร่งกว่าตลาด โดย คำว่า CANSLIM เป็นตัวอักษรเริ่มต้นของหลักการต่างๆ เรามาดูกันไปทีละตัวครับ
 
C-Current Earning คือ ผลประกอบการของบริษัทไตรมาสเพิ่มขึ้น 15-20 % เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้ายิ่งเพิ่มสูงจากกิจกรรมการดำเนินงานยิ่งดี
 
A- Annual earnings คือ การที่บริษัทมีภาพรวมรายได้ ผลประกอบการประจำปีมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและสม่ำเสมอ โดยจะต้องมีกำไรปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3-5 ปี และควรสอดคล้องกับรายได้ที่มั่นคงด้วย ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นควรจะอยู่ที่ไม่น้อยกว่า 10-15%
 
N-New Products คือ บริษัทที่มีการเจริญเติบโตโดยการออผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือมีการวางแผนธุรกิจใหม่อยู่เสมอ หรือการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหาร ซึ่งปัจจัยพวกนี้จะสื่อถึงโอกาสในการเติบโตใหม่ของบริษัท อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ราคาหุ้นไปถึงจุดสูงสุดใหม่ได้ด้วย
 
S-Supply and Demand คือ อุปสงค์และอุปทาน ในที่นี้เราหมายถึงความต้องการซื้อขายหุ้นจะต้องมีปริมาณมาก เพราะปริมาณการซื้อขาย (Volume) สะท้อนถึงการที่มีคนเข้ามาสนใจลงทุนมาก ราคาขึ้นง่าย และสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยน้อย ดูจาก Free float และส่วนมากบริษัทมักจะมีการซื้อหุ้นคืนบ่อยครั้ง
 
L - Leader ในหนังสือของ William J. O’Neil เขาจะเลือกหุ้นที่เป็นผู้นำ ซึ่งคำว่าผู้นำนั้นวัดจากการที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นที่ 1 หรือ 2 เท่านั้น และเวลาตลาดปรับตัววขึ้นจะขึ้นมากกว่าตลาด ส่วนเวลาตลาดปรับตัวลงลงน้อยกว่าตลาด
 
I-Institutional เป็นหุ้นที่นักลงทุนสถาบันชอบเข้าไปถือครอง ซึ่งการมีสถาบันถือครองเปรียบเสมือนตัวสะท้อนความแข็งแกร่งและความสามารถในการทำกำไรของบริษัท แต่ก็ไม่ควรมีสัดส่วนของนักลงทุนสถาบันมากจนเกินไป เพราะถ้าหากบริษัทมีผลประกอบการผิดคาด ก็อาจจะส่งผลให้เกิดแรงเทขายมากและการปรับฐานก็จะรุนแรงได้
 
M-Market หรือตลาด ในที่นี้เรากำลังพูดถึงทิศทางตลาด เรียกได้ว่าถ้าหากภาพรวมตลาดแย่ก็อาจจะเป็นเหตุผลให้หุ้นที่ผลประกอบการดีอาจจะ ไม่ Outperform ได้ ดังนั้นเราควรจะเลือกลงทุนในภาวะที่ตลาดฟื้นตัวจากวิกฤตและมีภาพใหญ่เป็นขาขึ้น เพื่อที่จะผลักดันราคาของหุ้นที่เข้าเงื่อนไขก่อนหน้าให้ยิ่งขึ้นไปได้อีก
 

มาถึงตรงนี้เพื่อนๆ คงจะเริ่มสนใจและอยากลองเอาเงื่อนไของ William J. O’Neil ไปลองใช้กันแล้วใช่ไหมครับ แต่การปรับใช้สำหรับมือใหม่นั้นอาจจะยังมีข้อกังวลและสงสัยว่าสิ่งที่เราเลือกมานั้นมันตรงตามเงื่อนไข CANSLIM หรือไม่ มันคงจะดีกว่าถ้าหากมีผู้เชียวชาญคอยให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งที่ บล. ฟิลลิป เรามีทีมงานคอยดูแลนักลงทุนมือใหม่โดยเฉพาะ และมีหลักสูตรสัมมนาออนไลน์ ที่จัดอย่างสม่ำเสมอ แจ้งความประสงค์ให้เราติดต่อกลับได้ที่ https://forms.gle/v93V5ANPu47PzHHR7

สอบถาม และติดตามข่าวกิจกรรม สาระความรู้ ผ่าน Line OA: https://lin.ee/ikRG3vT

สนใจอ่านบทความอื่นๆ https://www.poems.in.th/learning_detail.aspx?id=352 ขอให้ทุกท่านโชคดีในการลงทุนนะครับแล้วพบกันใหม่ครับ

#มือใหม่หัดลงทุน #ลงทุนหุ้น #ลงทุนให้รุ่งกับมิสเตอร์ฟิลลิป