PhillipCapital Your Partner in Investment

poems poems

ศูนย์การเรียนรู้
ราคาหุ้นถูก ไม่ได้แปลว่าหุ้นนั้นถูกเสมอไป

ราคาหุ้นถูก ไม่ได้แปลว่าหุ้นนั้นถูกเสมอไป

 
สวัสดีครับเพื่อนๆนักลงทุน ช่วงเดือนมกราคมที่พึ่งผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับฐานลงมาจากปัจจัยกดดันต่างๆ เช่น เรื่องที่ธนาคารกลางสหรัฐจะเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินในเรื่องอัตราดอกเบี้ย บวกกับความตึงเครียดของรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ที่ส่งผลกดดันทำให้ตลาดหุ้นทั้งโลกปรับตัวลดลงมาเกือบ 10 % นักลงทุนหลายท่านก็อาจจะเห็นว่า ตลาดปรับตัวลดลงและใช้จังหวะนี้ในการช้อปปิ้งเพื่อหาหุ้นถูกเข้าพอร์ตกัน วันนี้สิ่งที่ผม Mr. Phillip อยากจะมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง คือ ราคาหุ้นถูกไม่ได้หมายความว่าหุ้นนั้นถูกเสมอไป เรามาดูกันเลยว่าหุ้นที่ถูกแล้วดีหน้าตาเป็นอย่างไร
 
ก่อนอื่นผมต้องขอเกริ่นก่อนว่า ความเข้าใจที่ผิดมักเกิดขึ้นกับนักลงทุนมือใหม่ โดยเฉพาะเรื่องของราคาหุ้น คือ นักลงทุนมือใหม่มักเข้าใจว่า การที่ราคาหุ้นตกลงมาจากราคาสูงสุดที่หุ้นตัวนั้นเคยทำได้ หมายความว่า ราคาหุ้นมันถูกลงมาแล้ว แต่ในความเป็นจริงที่นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจคือ ราคาที่เราเห็นเป็นราคาที่ถูกลงแล้ว แต่จริงๆ แล้วราคาอาจจะแค่ย่อตัวลงมาแต่ยังแพงกว่ามูลค่าที่บริษัทมัคควรจะเป็นก็ได้
 
หลายคนอาจจะมีคำถามต่อว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาที่หุ้นของบริษัทควรจะเป็นเท่าไรล่ะและเราหาได้อย่างไร คำตอบก็ คือ นักลงทุนควรจะเปรียบเทียบและทำความเข้าใจจากมูลค่าของกิจการรวมถึงความสามารถในการทำกำไรของกิจการ ที่เราจะเลือกซื้อเข้ามาอยู่ในพอร์ตการลงทุนของเราก่อน โดยเริ่มต้นจากการดูจากอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทที่มีอยู่ตามบทวิเคราะห์ โดยถ้าหากเป็นนักลงทุนมือใหม่ ผมจะแนะนำให้ดูจาก 3 ข้อนี้ประกอบกันครับ
 
1. เราดูจากอัตราส่วนทางการเงินที่เรียกว่า P/E Ratio (Price Per Earning Ratio)จะเป็นอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญในการชี้วัดมูลค่าหุ้น โดยหามาจาก ราคาต่อหุ้น (Price) หารด้วย กำไรต่อหุ้น (EPS) เราจะมองมัน เสมือนเราคิดจะทำธุรกิจจริงๆ โดยทั่วไป หาก PE สูง จะหมายถึง หุ้นราคาแพง หาก PE ต่ำ จะหมายถึง หุ้นราคาถูก

ตัวอย่างเช่น : เพื่อนๆเข้าไปซื้อตอนหุ้น ABC ตอนที่ P/E 15 เท่า ราคา 150 บาท ต่อหุ้น ณ ขณะนั้น บริษัทมีกำไรสุทธิ 10 บาทต่อหุ้น ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา แสดงว่า ถ้าบริษัทสามารถทำกำไรได้เท่าเดิม เพื่อนๆจะได้เงินปีละ 10บาท แปลว่า 10 ปีคืนทุน แต่ถ้าค่า P/E ลดลงจากความสามารถในการทำกำไรของกิจการเพิ่มขึ้นก็จะยิ่งกิจการนั้นก็จะยิ่งน่าสนใจในการที่เข้าไปลงทุน
 
2. เราดูจากอัตราส่วนทางการเงินที่เรียกว่า P/BV Ratio (Price to book value) เป็นการคำนวณโดยใช้ ราคาหุ้น (Price) หารด้วย ราคาหุ้นตามบัญชี (Book value) โดยมูลค่าหุ้นตามบัญชี ก็คือ ส่วนของเจ้าของ + กำไรสะสม และคิดเป็นต่อหุ้น ตัวอย่างเช่น : ราคาหุ้น ABC เท่ากับ 10 บาท และมูลค่าหุ้นตามบัญชีคือ 8 บาท ค่า P/BV Ratio ที่ได้ออกมาจึงเท่ากับ 1.25 เท่า ซึ่งความหมายคือ ถ้าเจ้าของมีหุ้นมูลค่า 1 บาทต่อหุ้น วันนี้นักลงทุนจะซื้อหุ้นตัวนี้แพงกว่าเจ้าของ 25 สตางค์

โดย P/BV เหมาะแก่การใช้วิเคราะห์ความถูกแพงเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าน่าซื้อ น่าขาย ดีหรือไม่ดี เพราะ P/BV Ratio คำนึงถึงมูลค่าหุ้นตามบัญชีเป็นหลัก ซึ่งในความเป็นจริง เวลาหุ้นขึ้นหรือลงไม่ได้ขึ้นลงตามมูลค่าตามบัญชี แต่ขึ้นลงด้วยกำไร ถ้าบริษัททำธุรกิจเก่ง มีกำไรเพิ่มขึ้น หุ้นก็จะสามารถปรับราคาขึ้นได้ในอนาคตอย่างแน่นอน
 
3. อัตราความสามารถในการทำกำไรนั้นเป็นอย่างไร ต้องบอกว่า การที่เราเลือกหุ้นหรือกิจการเข้าไปลงทุนเราคาดหวังว่ากำไรของกิจการนั้นจะเติบโต เพราะฉะนั้นถ้าหากกิจการมีการเติบโตของอัตราความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี หรือ เติบโตเป็นบวกได้อย่างต่อเนื่อง และเรานำไปเทียบกับ ราคาตลาด ทั้ง P/E และ P/BV ยังไม่สูงมากจนเกินไป เราก็ควรที่เลือกเข้าไปอยู่ในพอร์ตการลงทุน
 
มาถึงตรงนี้เพื่อนๆ ที่เป็นมือใหม่พอจะเห็นภาพแล้วใช่หรือไม่ครับว่า หุ้นที่ราคาปรับตัวลงมาไม่ได้แปลงว่าราคาถูกเสมอไปต้องเราต้องอาศัยอัตราส่วนทางการเงินรวมถึงการดูงบการเงินของบริษัทเข้ามาเป็นตัวเปรียบเทียบเพื่อบอกว่า หุ้นที่เราสนใจถูกหรือแพง การลงทุนยังไงให้กำไรว่ายากแล้วการลงทุนอย่างไรให้ไม่ขาดทุนยากยิ่งกว่า....ขอให้โชคดีในการลงทุนนะครับ
 
หากเพื่อนๆ มือใหม่สนใจเริ่มต้นลงทุน บล.ฟิลลิป มีทีมงานคอยดูแลและมีหลักสูตรสัมมนาออนไลน์ ที่จัดอย่างสม่ำเสมอสำหรับมือใหม่โดยเฉพาะ
แจ้งความประสงค์ให้เราติดต่อกลับได้ที่ https://forms.gle/v93V5ANPu47PzHHR7

สอบถาม และติดตามข่าวกิจกรรม สาระความรู้ ผ่าน Line