PhillipCapital Your Partner in Investment

poems poems

ศูนย์การเรียนรู้
10 ข้อผิดพลาดของนักลงทุน - กองทุนรวม

 

 
ในปัจจุบัน กองทุนรวมก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์การลงทุนยอดนิยม เพราะมีให้เลือกมากมายและหลากหลาย ครอบคลุมการลงทุนหลายประเภท แต่ก่อนที่จะเริ่มลงทุนในกองทุนรวม การทำความเข้าใจ 10 ข้อผิดพลาดของนักลงทุนต่อการลงทุนกองทุนรวมก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรู้ทันและหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
 
1. มองกองทุนรวมเป็นเหมือนหุ้น
 
เวลาที่ราคาของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในระยะเวลาสั้นๆ มักทำให้นักลงทุนหน้าใหม่ไขว้เขว นั่นเพราะมักจะมีการนำกองทุนรวมไปเปรียบเทียบกับหุ้น (แม้จะเป็นกองทุนรวมหุ้นก็ตาม) และลืมไปว่า กองทุนรวมมีผู้จุดการทุนคอยดูแลสับเปลี่ยนสินทรัพย์ในพอร์ตอยู่เสมอ
 
ราคาหุ้นจะมีการขึ้นสูงหรือลงต่ำเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเป็นสิ่งที่นำมาเทียบกับกองทุนรวมตรงๆ ไม่ได้ เพราะกองทุนรวมเกิดจากสินทรัพย์หลายตัว และมีการเปลี่ยนแปลงสับเปลี่ยนอยู่เสมอโดย โดยยังคงเป้าหมายของกองทุนไว้เช่นเดิม (หากมีการเปลี่ยนแปลงต้องมีจดหมายแจ้งให้ทราบเสมอ) ดังนั้นนักลงทุนการซื้อขายกองทุนตามราคาในระยะสั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แล้วกองทุนรวมเองราคาก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วแบบหุ้น
 
2. ราคาต่อหน่วย (NAV) ยิ่งต่ำยิ่งดี
 
นักลงทุกคนย่อมรู้หลักการการลงทุน นั่นคือซื้อราคาต่ำ ขายราคาสูง และมักนำหลักคิดนี้ไปใช้กับผลิตภัณฑ์การลงทุนแบบอื่นๆ มีนักลงทุนหลายคนซื้อ NFO (ข้อเสนอกองทุนใหม่) โดยเชื่อว่าราคาที่ซื้อจะเป็นราคาที่ต่ำที่สุด แต่ที่จริงแล้วราคาต่อหน่วยในตอนที่ซื้อ จะไม่ใช่ราคาจริงๆ ตอนที่ผู้จัดการกองทุนซื้อสินทรัพย์เข้าพอร์ต สิ่งสำคัญในการลงทุนกองทุนรวมไม่ได้อยู่ที่การซื้อตอน NAV ต่ำ แต่เป็นการถือให้นาน เพราะกองทุนยิ่งเปิดนานเท่าไหร่ NAV ก็จะสูงเท่านั้น
 
3. มั่นใจว่าได้ผลตอบแทนที่แน่นอน
 
ในเรื่องของการลงทุน ไม่ว่าใครก็อยากได้ผลตอบแทนที่แน่นอนในสินทรัพย์ที่ลงทุนไป แต่สำหรับกองทุนรวมไม่เคยมีการการันตีผลตอบแทน หากสังเกตตามโฆษณาของกองทุนมักจะมีคำเตือนเสมอว่า “ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ราคาของหน่วยลงทุนและผลตอบแทนที่จะได้รับจากหน่วยลงทุนมีโอกาสขึ้นและลงตลอดเวลา”

แม้แต่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ว่ากันว่าปลอดภัย เสี่ยงน้อย ก็ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนที่แน่นอนได้ ถึงเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นก็ตาม
 
4. ลงทุนโดยอิงจากผลงานที่ผ่านมา
 
ผลงานที่ผ่านมาของกองทุนอาจจะช่วยให้เป็นประสิทธิภาพการดำเนินงานได้บ้าง แต่ผลงานที่ผ่านมาก็เป็นแค่อดีต ไม่มีหลักประกันว่ากองทุนรวมดังกล่าวจะสร้างผลงานได้ดีเหมือนเคย

ตัวอย่างสามารถเห็นได้ชัดจากตารางด้านล่าง
 
 
 
5. ทำการเปรียบกองทุน ข้ามประเภท
 
การเปรียบเทียบกองทุนข้ามประเภทก็เหมือนเอาผลไม้ไปเทียบกับผัก และก็มีนักลงทุนหลายนิยมนำผลตอบแทนของแต่ละกองทุนมาเปรียบเทียบกันโดยไม่ได้ดูว่าสินทรัพย์หลักในผลิตภัณฑ์กองทุนนั้นมีประเภทใดบ้าง การเปรียบเทียบกองทุนตามจริงสามารถทำได้ แต่ต้องเปรียบเทียบกองทุนที่มีสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน เช่นเปรียบเทียบสองกองทุนที่เน้นหุ้นบริษัทใหญ่ในกลุ่มเทคโนโลยี

 
6. ปรับเปลี่ยน หรือทำให้การลงทุนเสียระบบ เพราะความเห็นของคนอื่น
 
ข้อผิดพลาดนี้หลักๆ มาจากความกลัว ไม่ว่าจะกลัวขาดทุน กลัวตกขบวน ฯลฯ ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ โดยมักเกิดจากการได้รับข่าวสารหรือความเห็นที่เกี่ยวกับสภาพของตลาด เช่น “ควรซื้อ-ควรขายดีไหม” “ราคาลง-ขาดทุนขนาดนี้ต้องขาย” นำไปสู่การตัดสินใจโดยไม่ทันคิด แต่นักลงทุนที่มีวินัยจะลงทุนตามเป้าหมายของตนต่อไป และมักจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในอนาคต

 
7. ลงทุนโดยไม่ได้ตั้งเป้าหมาย หรือกระจายสินทรัพย์ให้ดีพอ
 
ไม่ว่าจะทำสิ่งใด การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุน หากกำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจน จะทำให้เกิดการจัดสินทรัพย์ในพอร์ตได้ตรงตามจุดประสงค์ และลงทุนได้มีประสิทธิภาพ รวมถึงกระจายความเสี่ยงได้ดี การกระจายสินทรัพย์ที่ดีจะทำให้การลงทุนเป็นไปอย่างมีระเบียบ ลดความไขว้ไขวเวลาที่ตลาดเกิดความผันผวน โดยกองทุนรวมจะช่วยเอื้อให้การลงทุนเป็นไปอย่างมีแบบแผน ด้วยจุดประสงค์การลงทุนที่ทุกๆ กองทุนระบุมาอย่างชัดเจน

 
8. ใช้เงินปันผลเป็นรายได้หลัก
 
มีนักลงทุนหลายคนใช้การลงทุนเป็นช่องทางหารายได้เสริม โดยเฉพาะคนที่ลงทุนเพื่อการเกษียณผ่านการซื้อสินทรัพย์ที่มีนโยบายปันผล แต่สำหรับการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมมีความแตกต่างจากหุ้น โดยหุ้นจะจ่ายปันผลตามกำไรที่ได้จากการดำเนินธุรกิจ

ในขณะที่กองทุนรวม หากมีการจ่ายเงินปันผล มูลค่าหน่วยลงทุน หรือ NAV ก็จะลดลงตาม ดังนั้น ส่วนต่างกำไร (Capital gain) ของกองทุนปันผลจะไม่เยอะ

 
9. ลงทุนกองทุนรวมตราสารหนี้แทนการฝากประจำ
 
กองทุนรวมตราสารหนี้คล้ายกับการฝากเงินและการซื้อพันธบัตร ที่มีหลักการทำงานโดยให้ธนาคารยืมเงิน และธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราคงที่ให้กับนักลงทุน แม้กองทุนรวมตราสารหนี้จะซื้อสินทรัพย์ประเภทนี้ (ตราสารหนี้ทั้งของภาครัฐและเอกชน) เข้ามาในพอร์ต แต่ผลตอบแทนจะแตกต่างจากการซื้อพันธบัตรจริงๆ เพราะมักจะมีสินทรัพย์มากกว่าหนึ่งตัวในพอร์ต อาจให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ายบ้าง แต่ก็ขาดความสม่ำเสมอ และมาพร้อมความเสี่ยงที่สูง เมื่อเทียบกับการฝากประจำ

 
10. ลงทุนโดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน
 
มีหลายคนคิดว่าการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินเป็นเรื่องไม่จำเป็นและยังเสียค่าใช้จ่าย บ้างก็คิดว่าการลงทุนเป็นเรื่องง่าย หาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เพื่อน ญาติ แล้วก็จ่ายเงินจบ บ้างก็ใช้ข้อมูลการดำเนินงานเก่าๆ มาเลือกกองทุน ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อผิดพลาดที่ได้กล่าวไป

เหตุผลที่การลงทุนควรได้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน เพราะการลงทุนของคนเรามีการเปลี่ยนไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพการเงิน อายุ ดังนั้นการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะทำให้การลงทุนเปี่ยมประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยง หรือรับความเสี่ยงได้มากขึ้น
 
บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิปฯ พร้อมให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนกองทุนรวมแก่นักลงทุน เพื่อลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ติดต่อเราได้ที่ 02-635-1718

 
Credit: Juzer Gabajiwala ผู้เชี่ยวชาญในด้านการเงินการลงทุน ผู้จัดการกองทุนและ ผู้อำนวยการบริษัท Ventura Securities Limited
https://www.forbes.com/advisor/in/investing/10-mistakes-investors-make-while-investing-in-mutual-funds