PhillipCapital Your Partner in Investment

poems poems

ศูนย์การเรียนรู้
เก็บเงินให้อยู่ ด้วยการบริหารเงินแบบ JARS

 

ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการลงทุนแตกแขนงไปมากมาย กลยุทธ์การบริหารจัดการเก็บเงิน ก็มีเพิ่มมากมายหลายสูตร โดยหนึ่งในทฤษฎีที่เหมาะกับคนเพิ่งเริ่มลงทุน แต่สามารถต่อยอดได้จนถึงช่วงเกษียณคือทฤษฎี 6 Jars หรือ ที่ออกแบบโดยคุณ T Harv Eker โดยหลักอยู่ที่การแบ่งรายได้ออกเป็น 6 ส่วนซึ่งจะมีการนำรายได้ไปบริหารจัดการทั้งระยะสั้นและระยะยาว

 
การบริหารเงินแบบ JARS
 
คือการแบ่งรายได้หรือรายรับเป็น 6 ส่วน จากรายรับทั้งหมด เสมือนการเก็บเงินสมัยก่อนแบ่งลงไห 6 ใบ
 
ใบที่ 1 : 55% ค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าเช่า ค่าอาหาร ค่าครองชีพ ค่าไฟ บิลเรียกเก็บเงินหรือหนี้ต่างๆ
 
ใบที่ 2 : 10% เงินสำหรับเก็บยาว สำหรับ ซื้อของมูลค่าสูง ใช้ท่องเที่ยว เก็บเป็นเงินฉุกเฉิน รวมทั้งค่ารักษาพยาบาล
 
ใบที่ 3 : 10% ความบันเทิงส่วนตัว เช่น ซื้อสิ่งที่เติมเต็มความสุข เพื่อผ่อนคลายตนเองในทุกครั้งที่ได้รับเงิน
 
ใบที่ 4 : 10% การลงทุน ในหุ้น กองทุน หรือสินทรัพย์ต่างๆ จะไม่มีการนำเงินส่วนนี้ออกมาใช้ ไม่ว่ากรณีใดๆ
 
ใบที่ 5 : 10% เพื่อการศึกษาส่วนตน เช่น ซื้อหนังสือ เข้าคอร์สเรียน เพิ่มเติมความรู้ส่วนตัว
 
ใบที่ 6 : 5% สำหรับบริจาค อาจจะเป็นพรรคการเมืองที่มีส่วนเปลี่ยนแปลงสังคม หรือเพื่อการกุศลเพื่อให้สังคมขับเคลื่อนไปในทางดี แม้ตามจริงจะเป็นหน้าที่ที่ทุกรัฐบาลควรทำให้ดีก็ตาม
 
ทำไมควรบริหารเงินแบบ JARS

เพราะพฤติกรรมการเก็บหรือลงทุนสำคัญกว่าจำนวนเงินที่มี การแบ่งเก็บเงินเป็นสัดส่วนจะสัมพันธ์กับเงินได้ ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่า ขั้นต่ำต้องเก็บเงินเท่าไหร่ ดังนั้นการใช้ระบบบริหารเงินแบบ JARS จะมีผลกับวินัยการออมเงินมากกว่า
 
วิธีที่เร็วที่สุดที่ระบบการเงินจะดี เกิดจากการบริหารที่ดี

หากมีการจัดการที่ดี ก็ย่อมส่งผลดี และการทำอย่างมีวินัย สม่ำเสมอ ในระยะยาวก็จะผลิดอกออกผลให้เห็น
 
ถ้าเงินค่าใช้จ่ายมากเกิน 55% ของรายได้?
 
การเก็บเงิน บริหารเงินระบบ Jars ออกแบบมาเพื่อฝึกจัดระเบียบการจัดการ จัดเก็บเงินให้มีแบบแผน เกิดความสม่ำเสมอในทุกครั้งที่มีรายได้ ดังนั้นตัวเลขของไหแต่ละใบสามารถเปลี่ยนแปลงได้ให้เหมาะสมกับบริบทหรือข้อจำกัดในชีวิต ไม่ได้กำหนดแบบตายตัว แต่หลักๆ ควรมีการเก็บเงินให้ได้ 6 ส่วนในทุกๆ ครั้งที่มีเงินได้ สิ่งสำคัญจริงๆ ไม่ใช่จำนวนเงินที่เก็บได้ แต่เป็นพฤติกรรมการเก็บเงินและการลงทุนที่สม่ำเสมอ
 
สนใจเริ่มต้นลงทุนกับหลักทรัพย์ฟิลลิป ด้วยบัญชีออมหุ้นหรือออมกองทุนรวม  
ทัก Line : @phillipcapital หรือคลิก https://lin.ee/ikRG3vT
หรือ หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม www.phillipsavingplan.com  
 
Credit: T Harv Eker นักเขียนหนังสือทฤษฎีการลงทุน และเจ้าของบริษัทสัมมนา Peak Potentials Training https://www.harveker.com/blog/6-step-money-managing-system/