PhillipCapital PhillipCapital Your Partner in Investment

poems poems

ศูนย์การเรียนรู้
ประเภทของหน่วยลงทุน (2)
หน่วยลงทุนจัดแบ่งตามประเภทของวัตถุประสงค์การลงทุน
เพื่อช่วยท่านในการเลือกหน่วยลงทุนให้เหมาะกับวัตถุประสงค์การลงทุน ในหัวข้อนี้บรรยายถึงหน่วยลงทุนที่มีวัตถุประสงค์การลงทุนแตกต่างกันในแต่ละประเภท ซึ่งในแต่ละหน่วยลงทุน ทำการลงทุนโดยซื้อหลักทรัพย์จำพวก ตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารในตลาดเงิน หรือผสมกันระหว่างตราสารเหล่านี้ 

เนื่องจากแต่ละหน่วยลงทุนมีวัตถุประสงค์ การลงทุนที่เฉพาะเจาะจง เช่น การเติบโตของเงินทุน ป้องกันเงินลงทุน เพื่อรายได้ปัจจุบัน หรือรายได้ที่ยกเว้นภาษี ดังนั้นผู้ลงทุนสามารถเลือกหน่วยลงทุน หรือกลุ่มของหน่วยลงทุน เพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุนของผู้ลงทุน โดยทั่วไป หน่วยลงทุนแยกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
  • หน่วยลงทุนประเภทลงทุนในตราสารทุน
  • หน่วยลงทุนประเภทลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งลงทุนในหลักทรัพย์ขององค์กรเอกชน และรัฐบาล ที่เสนออัตราผลตอบแทนที่แน่นอน
  • หน่วยลงทุนประสมดุล ซึ่งลงทุนทั้งในตราสารทุน และตราสารหนี้

หน่วยลงทุนประเภทอัตราการเติบโตสูง 
หน่วยลงทุนประเภทนี้มีวัตถุประสงค์หลักที่จะเพิ่มการเติบโตของมูลค่าหน่วยลงทุนให้สูงสุด โดยการรับรายได้จากเงินปันผล และ ดอกเบี้ย เป็นวัตถุประสงค์รอง หน่วยลงทุนนี้เน้นการลงทุนในหุ้นทุนที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง หน่วยลงทุนประเภทนี้ บ่อยครั้งลงทุนในหุ้นของบริษัทขนาดเล็กที่กำลังเติบโต และ ให้รายได้ปัจจุบันที่ต่ำ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ปกตินำกำไรที่ได้ไปลงทุนใหม่ และ จ่ายเงินปันผลน้อย หน่วยลงทุนนี้อาจลงทุนกระจายไปทุกกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ เจาะจงเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง หน่วยลงทุนประเภทอัตราการเติบโตสูง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถยอมรับ กับความเป็นไปได้ในการลดลงของมูลค่าเงินลงทุน เพื่อหวังในการบรรลุผลตอบแทนที่สูง หน่วยลงทุนประเภทนี้ไม่เหมาะสมกับ นักลงทุนที่ต้องการสูญเสียเงินลงทุน หรือ ผู้ที่ต้องการผลตอบแทนสูงสุด ในรูปรายได้ปัจจุบัน

หน่วยลงทุนประเภทเน้นการเติบโต 
เหมือนกับหน่วยลงทุนประเภทเน้นอัตราการเติบโตสูง หน่วยลงทุนประเภทเน้นการเติบโตโดยทั่วไปลงทุนในหุ้นที่เน้นการเติบโตมากกว่าให้รายได้ปัจจุบัน หน่วยลงทุนนี้มีความอนุรักษ์นิยมมากกว่า เพราะว่าโดยปกติลงทุนในบริษัทที่มั่นคงที่แสดงถึงการเติบโตในระยะยาว หน่วยลงทุนนี้ให้รายได้ปัจจุบันที่ต่ำ แต่เงินลงทุนเบื้องต้น มีความมั่นคงกว่าหน่วยลงทุน ประเภทเน้นอัตราการเติบโตสูง ขณะที่ศักยภาพการเติบโตอาจน้อยกว่าในระยะสั้น แต่หน่วยลงทุนประเภทเน้นการเติบโตจำนวนมาก ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว แม้ว่าหน่วยลงทุนประเภทเน้นการเติบโต จะอนุรักษ์นิยมมากกว่าหน่วยลงทุนประเภทเน้นการเติบโตสูง แต่ก็ยังมีความแปรปรวน หน่วยลงทุนประเภทนี้ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการ การเติบโตของการลงทุน และ ไม่เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่สามารถรับความเสี่ยง หรือ ผู้ที่ยังมีความต้องการรับผลตอบแทนปัจจุบันสูงสุด

หน่วยลงทุนประเภทเน้นการเติบโตและรายได้ 
หน่วยลงทุนประเภทเน้นการเติบโต และรายได้มุ่งการเติบโตระยะยาวของเงินทุน เช่นเดียวกับรายได้ปัจจุบัน กลยุทธ์การลงทุนของหน่วยลงทุนประเภทนี้มีหลายรูปแบบ บ้างลงทุนในสองรูปแแบบ ประกอบด้วยการลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโต และหุ้นที่ให้รายได้ปัจจุบัน หรือ การลงทุนแบบรวม หุ้นที่มีอัตราการเติบโต หุ้นที่จ่ายเงินปันผลสูง หุ้นบุริมสิทธ์ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือ หลักทรัพย์ที่ให้รายได้แน่นอน เช่น หุ้นกู้บริษัท และ ตราสารในตลาดเงิน หน่วยลงทุนประเภทเน้นการเติบโต และรายได้มีความแปรปรวนของเงินลงทุนเริ่มต้น ในระดับกลางถึงต่ำ และ ศักยภาพของการให้รายได้ปัจจุบัน และ การเติบโตในระดับกลาง หน่วยลงทุนประเภทนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้บ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งการเติบโตของเงินทุน และ ต้องการรักษาระดับกลาง ของการได้รับรายได้ปัจจุบันในขณะเดียวกัน

หน่วยลงทุนประเภทให้รายได้แน่นอน 
เป้าหมายของหน่วยลงทุนประเภทให้รายได้แน่นอน คือการให้รายได้ปัจจุบันที่สูง และ สม่ำเสมอพร้อมทั้งรักษาเงินทุนเริ่มต้น การเติบโตของเงินทุนมีความสำคัญรองลงไป หน่วยลงทุนประเภทรายได้ที่เบื้องต้นลงทุนใน หุ้นกู้ และ หุ้นบุริมสิทธิ์ จัดอยู่ในประเภทของหน่วยลงทุนที่ให้รายได้แน่นอน หน่วยลงทุนประเภทนี้ลงทุนในหุ้นกู้บริษัท หรือ พันธบัตรรัฐบาล ที่ให้อัตราผลตอบแทนที่แน่นอน เนื่องจากราคาของหุ้นกู้แปรผัน ตามการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย จึงมีความเสี่ยงบ้างจากการลงทุนในหน่วยลงทุนประเภทนี้ ถึงแม้ว่าหน่วยลงทุน จะมีลักษณะเป็นแบบอนุรักษ์ก็ตาม หน่วยลงทุนประเภทให้รายได้แน่นอนให้รายได้ปัจจุบันที่สูงกว่าหน่วยลงทุนประเภทลงทุนในตลาดเงิน แต่มีความแปรปรวนของเงินลงทุนเริ่มแรกที่มากกว่า หน่วยลงทุนประเภทนี้โดยทั่วไป มีการเปลี่ยนแปลงในราคาน้อยกว่า หน่วยลงทุนที่ลงทุนหุ้นทุน หน่วยลงทุนประเภทให้รายได้แน่นอน เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการ ได้รับรายได้ปัจจุบันสูงสุด และ ผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงในเงินทุน อ่านหนังสือชี้ชวนอย่างละเอียด เพื่อรู้นโยบายการลงทุนคำนึงถึงผลตอบแทน และ ความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับวัตถุประสง การลงทุนของนักลงทุน

หน่วยลงทุนประเภทให้รายได้จากหุ้นทุน 
หน่วยลงทุนประเภทให้รายได้จากหุ้นทุนมุ่งให้รายได้ปัจจุบัน ที่สูงโดยการเน้นการลงทุนหุ้นทุน ของบริษัทที่จ่ายเงินปันผลที่สูง ไม่เหมือนดอกเบี้ยจ่ายในหุ้นกู้ เงินปันผลจากหุ้นทุนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เป็นผลจากบริษัทเพิ่ม หรือ ลดเงินปันผล เนื่องจากหุ้นทุนที่เน้นการจ่ายเงินปันผลมีความแปรปรวนกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ หุ้นที่ให้อัตรารายได้ที่แน่นอน ดังนั้นหน่วยลงทุนประเภทให้รายได้จากหุ้นทุน จึงมีความมั่นคงของเงินลงทุนเริ่มแรกที่น้อยกว่า หน่วยลงทุนประเภทให้รายได้แน่นอน หน่วยลงทุนประเภทให้รายได้จากหุ้นทุน เหมาะสำหรับนักลงทุนประเภทอนุรักษ์นิยม
ผู้ต้องการรายได้ปัจจุบันที่สูง พร้อมด้วยการเติบโตบ้าง

หน่วยลงทุนประเภทสมดุล 
จุดมุ่งหมายของหน่วยลงทุนประเภทสมดุล คือให้หน่วยลงทุนที่มีวัตถุประสงค์ ทั้งการเติบโตของเงินทุน และ รายได้ เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ หน่วยลงทุนประเภทสมดุลลงทุนในหุ้นทุน และ หุ้นกู้ หน่วยลงทุนประเภทสมดุลโดยปกติใช้ 35% ถึง 65% ของเงินลงทุนในหุ้นทุน และ ที่เหลือในตราสารหนี้ การกระจายการถือหลักทรัพย์แบบนี้ ช่วยบริหารเงินทุนในช่วงขาลงของตลาดหุ้นโดยปราศจากการขาดทุนที่มากเกินไป ในอีกด้านหนึ่งหน่วยลงทุนประเภทนี้แน่นอน จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้น ของมูลค่าน้อยกว่าหน่วยลงทุน ที่ประกอบด้วยหุ้นทุนทั้งหมดในช่วงตลาดกระทิง

หน่วยลงทุนประเภทยืดหยุ่น 
หน่วยลงทุนประเภทยืดหยุ่นลงทุนในหลักทรัพย์ที่หลากหลาย รวมถึง หุ้นทุนภายในประเทศ, หุ้นกู้, ตราสารตลาดเงิน ตามแต่สถานการณ์การลงทุน และ การตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนรวม หน่วยลงทุนประเภทนี้สามารถลงทุนในประเภทหลักทรัพย์ที่เหมือนกับหน่วยลงทุนประเภทสมดุล แต่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสัดส่วนการถือครองหลักทรัพย์ หน่วยลงทุนประเภทยืดหยุ่นเหมาะสมกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ระดับกลาง

หน่วยลงทุนประเภทลงทุนในตลาดเงิน 
สำหรับนักลงทุนที่มีความระมัดระวังในการลงทุน หน่วยลงทุนประเภทลงทุนในตลาดเงิน ให้ความมั่นคงในเงินลงทุนเริ่มแรกที่สูง ขณะเดียวกันกับวัตถุประสงค์ในการให้รายได้ปัจจุบัน ในระดับกลางถึงสูง หน่วยลงทุนประเภทนี้ลงทุน ในตราสารหนี้ที่มีสภาพคล่องสูง และ มีความเสี่ยงที่ต่ำมาก และ ตั๋วเงินคลัง หน่วยลงทุนประเภทนี้ ไม่มีศักยภาพสำหรับการเติบโตของเงินลงทุน หน่วยลงทุนประเภทลงทุนในตลาดเงิน เหมาะสำหรับนักลงทุนประเภทอนุรักษ์นิยม ที่ต้องการความมั่นคง ของเงินลงทุนเริ่มแรก และ รายได้ปัจจุบันระดับกลาง และ สภาพคล่องสูง

หน่วยลงทุนประเภทลงทุนในหน่วยลงทุน 
หน่วยลงทุนประเภทนี้ลงทุนในหน่วยลงทุนอื่น เหมือนกับหน่วยลงทุนทั่วไป ที่ลงทุนในหลากหลายหลักทรัพย์ หน่วยลงทุนประเภทลงทุนในหน่วยลงทุน ลงทุนโดยซื้อหน่วยลงทุนจากหลากหลายหน่วยลงทุน หน่วยลงทุนประเภทนี้ ทำขึ้นเพื่อเพิ่มการกระจายการลงทุน ให้มากขึ้นกว่าหน่วยลงทุนแบบทั่วไป อย่างไรก็ตามหน่วยลงทุน ประเภทลงทุนในหน่วยลงทุน มีข้อเสียเปรียบหลายอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายในการลงทุนของหน่วยลงทุนนี้ โดยปกติสูงกว่าหน่วยลงทุนทั่วไป เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่ม จากหน่วยลงทุนที่เลือกลงทุน ถ้าแม้ว่ามีค่าใช้จ่ายที่ต่ำหน่วยลงทุนประเภทนี้ อาจกระทบจากการลงทุนซ้ำ เนื่องจากหน่วยลงทุน ประเภทลงทุนในหน่วยลงทุน ลงทุนในหน่วยลงทุนหลายประเภท ซึ่งหน่วยลงทุนเหล่านั้นลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภท จึงมีความเป็นไปได้ว่าหน่วยลงทุนประเภทนี้ ถือครองหลักทรัพย์ซ้ำกันผ่านหน่วยลงทุนต่างๆ

หน่วยลงทุนประเภทลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิ์ 
หน่วยลงทุนประเภทนี้ลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธ์ประเภทต่างๆ โดยเฉลี่ยแล้วลงทุนไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน และ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธ์บางประเภท อาจมีความเสี่ยงสูง เช่น การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น จึงอาจไม่เหมาะผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อย

หน่วยลงทุนประเภทลงทุนในกลุ่มธุรกิจ 
หน่วยลงทุนประเภทนี้ลงทุนในหลักทรัพย์ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเฉพาะ หรือ ตามลักษณะทางเศรษกิจ เช่น การแพทย์ เทคโนโลยีชั้นสูง บันเทิง สาธารณูปโภค หรือ โลหะมีค่า เนื่องจากหน่วยลงทุนประเภทลงทุน ในกลุ่มธุรกิจเน้นการลงทุนไปที่หนึ่ง อุตสาหกรรม จึงไม่ได้รับประโยชน์ จากการป้องกันความเสี่ยง จากการลดลงในมูลค่าหลักทรัพย์ ที่มีในการลงทุนในหน่วยลงทุน ที่ลงทุนกระจายในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตามหน่วยลงทุนประเภทนี้ ให้นักลงทุนสามารถกระจายการลงทุน ภายในกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า การลงทุนโดยตรงในหนึ่งบริษัท 

                                                                                                                                ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2546