PhillipCapital Your Partner in Investment

poems poems

ศูนย์การเรียนรู้
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว
จากเดิมที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกสั้นๆว่า RMF (RETIREMENT MUTUAL FUND) ผู้ลงทุน
จะได้
รับสิทธิลดหย่อนภาษี แต่ก็มีข้อจำกัดที่ต้องถือกองทุนนั้นไว้จนถึงอายุ 55 ปี และต้องลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ในปัจจุบันนี้ ผู้ลงทุนจะ
ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้น และยังไม่ต้องนำไปรวมกับสิทธิลดหย่อนอื่นๆ เช่น เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ หรือแม้กระทั่ง RMFเอง โดยการลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ซึ่งจะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 300,000 บาท ในแต่ละปี
ภาษี แต่เงื่อนไขของการลงทุน เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว มีเงื่อนไขที่น้อยกว่ามาก เพียงแค่ท่านต้องถือ
หน่วยลงทุนไว้เกิน 5 ปีปฏิทิน (ซึ่งถ้าลงทุนในช่วงสินปีที่ 1ก็สามารถขายได้ตั้งแต่ต้นปีที่ 5 เป็นต้นไป เท่ากับว่า ลงทุนจริงๆ แค่ 3 ปี
กับอีกไม่กี่วันเท่านั้น) 
ส่วนในแต่ละปี ท่านจะซื้อเพิ่มหรือไม่ซื้อเพิ่มก็ได้ไม่นับว่าเป็นการผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด

ประเภทของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นกองทุนประเภทตราสารแห่งทุน (ลงทุนในบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ที่มีนโยบายลงทุน
ในตราสารแห่งทุน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ของกองทุน (NAV) โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงิน
ปันผล และ ไม่จ่ายเงินปันผล ซึ่งแต่ละประเภทก็มีข้อดีแตกต่างกัน กล่าวคือ กองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล หากกองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดี
ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้กระแสเงินสดรับ อย่างสม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลาการลงทุน แต่เงินปันผลที่ได้รับนี้ จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีก 10%
ส่วนกองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล แม้จะไม่มีกระแสเงินสดรับ แต่มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูป Capital gain ที่สูงกว่า เนื่องจาก
หากกองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดีผลตอบแทนที่เกิดจากการลงทุน ในกองทุนประเภทนี้ จะนำไปลงทุนต่อ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้เพิ่มขึ้น 

กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ที่ได้รับการลดหย่อนภาษี มีความแตกต่างกันอย่างไร ?
 
ลักษณะ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
1. นโยบายการลงทุน มีนโยบายเดียว คือ กองทุนตราสารทุน (หุ้น) กองทุนมีนโยบายการลงทุนใดก็ได้ ทั้งกองทุนหุ้น, ตราสารหนี้ ,
กองทุนผสม, ผสมแบบยืดหยุ่น เป็นต้น
2. จำนวนเงินที่ซื้อ
    ขั้นต่ำต่อปี
ไม่กำหนด ไม่น้อยกว่า 3 % ของเงินได้ หรือไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท

3. จำนวนเงินได้สูงสุดที่              ลงทุน ที่นำไปลดหย่อน
     ภาษีได้
ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี สูงสุด 300,000 บาท โดยไม่รวมกับวงเงินของ RMF ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
โดยรวมกับเงินสะสม เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข.
4. การซื้อหน่วยลงทุน ไม่ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี ต้องซื้ออย่างน้อยที่สุดปีเว้นปี แต่หากไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้น
ก็สามารถระงับการซื้อได้
5. เงื่อนไขการถือครอง เพื่อ       สิทธิประโยชน์ทางภาษี ต้องถือหน่วยลงทุนที่ซื้อแต่ละครั้ง ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฎิทิน ยกเว้นตาย หรือทุพพลภาพ
ต้องถือหน่วยลงทุนจนอายุครบ 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งหมด กรณีถือหน่วยลงทุนจนครบ 5 ปี แต่ไถ่ถอนก่อนอายุ 55 ปี จะได้รับยกเว้นภาษี
เฉพาะกำไรจากเงินลงทุน

 
6. อายุกองทุน ไม่กำหนด แต่สิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้ช่วง 10 ปีแรก หลังจากจัดตั้งกองทุน ไม่กำหนด
7. ระยะเวลาจัดตั้ง และจด         ทะเบียนกองทุน ภายในมิถุนายน 2550 ไม่กำหนด


กองทุนรวมหุ้นระยะยาวช่วยลดภาษีได้อย่างไร ?
จากที่ทราบกันแล้วว่าการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว สามารถนำเงินที่ลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งในหัวข้อต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีการใช้
การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด


    ตัวอย่าง 
    นาย ก เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีเงินเดือน เดือนละ 25,000 บาท จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทในอัตราร้อยละ 5
    และสิ้นปีได้รับเงินโบนัสจากบริษัท 200,000 บาท

    จากข้อมูลของนาย ก สามารถนำมาคำนวณภาระภาษีที่นาย ก ต้องจ่าย ดังต่อไปนี้

    
  Baht
รายได้ทั้งปี ที่มาจากเงินเดือนและโบนัส 500,000
หัก ค่าใช้จ่าย 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท (60,000)
ค่าลดหย่อน ผู้มีเงินได้ (30,000)
ค่าลดหย่อน เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (300,000*0.05) (15,000)
รวม หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน (105,000)
เงินได้สุทธิ 395,000
ภาษีในแต่ละขั้นที่ต้องเสีย มีดังนี้ 
Taxable income Tax rate Tax amount
100,000 เสียภาษีในอัตรา 0 % 0 บาท
295,000 เสียภาษีในอัตรา 10 % 29,500 บาท
รวม 395,000 เสียภาษีเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 29,500 บาท

จากภาระภาษีที่นาย ก ต้องจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 29,500 บาท นาย ก สามารถลดภาระภาษีลงได้ ถ้าไปลงทุนในกองทุน RMF ที่สามารถลดหย่อนภาษี
จากเงินลงทุน ไม่เกิน 15 % ของเงินได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท ดังนี้
  • ลงทุนในกองทุน RMF (500,000 * 0.15) = 75,000 บาท
  • เงินได้สุทธิใหม่ (395,000 - 75,000) = 320,000 บาท
  • ภาษีที่ต้องเสีย (ใหม่) = 22,000 บาท
  • ภาระภาษีที่จ่ายลดลง (29,500 - 22,000) = 7,500 บาท 
 
  RMF ลงทุนทั้งRMF และ LTF
เงินได้สุทธิ 395,000 395,000
สิทธิค่าลดหย่อนที่ได้รับจากการลงทุน (75,000) (150,000)
เงินได้สุทธิหลังหักเงินลงทุน 320,000 245,000
ภาษีที่ต้องเสีย (ใหม่) (จากเดิมที่ต้องเสียภาษี 29,500 บาท) 22,000 14,500
ภาษีที่จ่ายลดลง 7,500 15,000
ลดลงร้อยละ 25.42% 50.85%
 

                                                                                                   ข้อมูล ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2548