PhillipCapital Your Partner in Investment

poems poems

ศูนย์การเรียนรู้
ตั๋วเงินคลัง
ตั๋วเงินคลังคืออะไร ?

ตั๋วเงินคลังเป็นหลักทรัพย์ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง เป็นผู้ออกเพื่อกู้ยืมเงินระยะ สั้นจากประชาชน ปกติจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี ตั๋วเงินคลังไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน เเต่ผลตอบแทน จะอยู่ในรูปของส่วนลด ซึ่งรัฐบาลกำหนดจะชำระคืนตามราคาที่ตราไว้ เมื่อตั๋วเงินคลังครบกำหนดไถ่ถอนคืน ตั๋วเงินคลังจะทำการซื้อขาย ที่ราคาคิดลด ซึ่งหมายถึง เงินลงทุนครั้งเเรกจะน้อยกว่าราคาหน้าตั๋ว เเละเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน จะได้รับเงินเต็มจำนวน ตามที่ตราไว้หน้าตั๋ว


ข้อดีของตั๋วเงินคลัง
  • เป็นตราสารที่มีความมั่นคงสูง(risk free rate) เนื่องจากกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก
  • เป็นการลงทุนระยะสั้นประมาณ 1-12 เดือน
  • ได้รับดอกเบี้ยเเละเงินต้นโอนเข้าบัญชีโดยอัติโนมัติเมื่อวันครบกำหนด
  • ผลตอบเเทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่ได้รับจากธนาคาร

การคำนวณวิธีซื้อตั๋วเงินคลังด้วยวิธีคิดลด

เงินลงทุนเบื้องต้น = ราคาคิดลด + ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15 % + ค่านายหน้า 
เงินที่จะได้รับคืน = มูลค่าที่ตราไว้หน้าตั๋ว
N = ระยะเวลาวันที่ถือครองตั๋วเงินคลัง

อัตราผลตอบเเทน (หลัง Tax เเละ Commission) 
= (เงินที่ได้รับคืน – เงินลงทุนเบื้องต้น) x (365) x 100% 
                  เงินลงทุนเบื้องต้น                N 

Indicative Prices and Return after Tax and Commission (RATC) As of 26/09/2005 
<------------------------------- RATC ------------------------------->

 
Days
Indicative Rate
(quoted by BOT)
1 million
5 million
10 million
20 million
100 million
90
2.72 %
1.9043 %
2.0680 %
 
 
 
 
> 10 MB 2.75 %
 
 

2.1458 %

2.2337 %
2.3148 %
180
3.18 %
2.4908 %
2.5750 %
 
 
 
 
> 10 MB 3.20 %
 
 
2.6182 %
2.6620 %
2.7032 %


 
ตัวอย่าง : 
เมื่อลงทุนในตั๋วเงินคลัง 10 ล้านบาท อายุ 90 วัน มีวิธีคำนวณดังนี้ 
เงินลงทุนเบื้องต้น 
= 9,931,905.23+ 10,214.22+4,668.00 = 9,946,787.44 บาท

เงินที่จะได้รับคืนเมื่อตั๋วเงินคลังครบอายุ 
= 10,000,000 บาท

v
= ( 10,000,000 – 9,946,787.44 ) x (365) x 100% 
               9,946,787.44                  91 

= 2.1458 %

 

                                                                                                 ข้อมูล ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548