มารู้จักบัญชีเครดิตบาลานซ์
Credit Balance หรือ Margin คือการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ โดยต้องวางเงินหรือหลักทรัพย์ ตามที่กำหนดไว้กับบริษัทนายหน้า ก่อนที่จะทำการซื้อขาย การซื้อขายหลักทรัพย์ใน Credit Balance จะมีความสะดวกในเรื่องการชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ คือ โดยปกติเมื่อลูกค้าซื้อหุ้นในวันนี้ ลูกค้ามีหน้าที่จะต้องชำระราคาในอีก 2 วันทำการถัดไป หากลูกค้าซื้อในบัญชี Credit Balance บริษัทจะทำหน้าที่ในการจัดการเรื่องการเงินให้ โดยชำระค่าซื้อซึ่งตัดจากบัญชี Credit Balance ที่ลูกค้ามีอยู่ ซึ่งเป็นเงินของนักลงทุนเองก่อน และ บริษัทจะให้กู้ยืมในส่วนที่ขาด หากเงินหรือหลักทรัพย์ที่ลูกค้านำมาวางเป็นประกัน มีจำนวนสูงกว่าค่าซื้อหลักทรัพย์ ภาระการกู้ยืมก็จะยังไม่เกิดขึ้น อีกทั้งลูกค้ายังจะได้รับดอกเบี้ย จากส่วนที่ยังคงเหลือในบัญชี Credit Balance ด้วย ตัวอย่างเช่น ลูกค้าฝากเงิน 100,000 บาท และต้องการซื้อหุ้น A ซึ่งมี Initial Margin ที่ 50% หมายความว่า ลูกค้าจะมีวงเงินในการซื้อหุ้น A ได้ 200,000 บาท โดย เป็นส่วนเงินของลูกค้าเอง 100,000 บาท และ กู้ยืมเงินจากบริษัท 100,000 บาท โดยมีการคำนวณดอกเบี้ย และ หุ้นนั้นๆ ต้องจำนำเป็นประกันไว้กับบริษัท แต่หากว่า ลูกค้าฝากหลักทรัพย์แทนการฝากเงิน ยอดเงินกู้ยืมในการซื้อหุ้น A จะเป็น 200,000 บาท หลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ซื้อเครดิต เนื่องจากหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แต่ละตัว มีปัจจัยพื้นฐาน และ ความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่องแตกต่างกัน ดังนั้น บริษัทที่ให้กู้ยืมเงิน จะมีการกำหนดหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ซื้อขายในบัญชี Credit Balance รวมถึงกำหนดเกรดของหลักทรัพย์ และ อัตรามาร์จิ้นเริ่มต้นที่เหมาะสม สำหรับแต่ละหลักทรัพย์ (Multiple Margin Rate) โดยจะมีการประกาศให้ทราบอย่างน้อย เดือนละหนึ่งครั้ง การคำนวณดอกเบี้ยในบัญชีเครดิตบาลานซ์ การคำนวณดอกเบี้ย จะคิดจากยอดคงเหลือในบัญชีแต่ละสิ้นวัน ตามอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทให้กู้ยืมเงิน กำหนด ทั้งนี้การรับ หรือ ชำระดอกเบี้ย จะใช้วิธี update จากบัญชี Credit Balance ของลูกค้าในตอนสิ้นเดือน พร้อมทั้งส่ง Statement ให้ลูกค้าทราบทุกเดือน
ข้อควรคำนึงในการใช้เครดิตบาลานซ์
ดังนั้นหากนักลงทุนเข้าใจ และ สามารถกำหนดยุทธวิธี จังหวะ และ เวลาในการลงทุนที่เหมาะสมได้ Credit Balance ก็จะเป็นเครื่องมือที่เพื่มศักยภาพการลงทุนในหลักทรัพย์ ให้กับนักลงทุนได้เป็นอย่างดี |