TOCOM RUBBER
ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในประเทศญี่ปุ่น (TOCOM) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1952 และได้กลายมาเป็นตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย เนื่องด้วยระบบการซื้อขายที่มีความเป็นมาตรฐานระดับสากลและมีจำนวนปริมาณการซื้อขายที่สูง ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้นักลงทุนที่ต้องการลงทุนหรือป้องกันความเสี่ยงในสภาวะที่ราคายางพารามีความผันผวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิปได้เปิดให้บริการซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในตลาด TOCOM แล้วโดยสามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้เองผ่านอินเตอร์เน็ตหรือผ่านเจ้าหน้าที่ซึ่งคอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ตารางเปรียบเทียบลักษณะของสัญญาระหว่างตลาด TOCOM และ TFEX
หัวข้อ |
ลักษณะของสัญญา |
TOCOM |
TFEX |
สินค้าอ้างอิง |
ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) |
ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) |
ขนาดของสัญญา |
5,000 กิโลกรัม (5 ตัน) |
5,000 กิโลกรัม (5 ตัน) |
ขนาดการรับ/ส่งมอบ |
5,000 กิโลกรัม (5 ตัน) หรือเทียบเท่า 1 สัญญา |
20,000 กิโลกรัม (20 ตัน) หรือเทียบเท่า 4 สัญญา |
ราคาเสนอซื้อขาย |
เยนต่อกิโลกรัม |
บาทต่อกิโลกรัม |
ช่วงราคาซื้อขายขั้นต่ำ |
0.1 เยน (คิดเป็น 500 เยนต่อสัญญา) |
0.05 บาท (คิดเป็น 250 บาทต่อสัญญา) |
ช่วงเปลี่ยนแปลง
ของราคาสูงสุด |
20 เยนของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด |
10% ของราคาที่ใช้ชำระราคาล่าสุด |
เวลาซื้อขาย |
ช่วงเช้า (Day Session) |
ช่วงเช้า |
|
(ตามเวลาประเทศไทย) |
Pre-Open: |
06:15 น. - 06:45 น. |
Pre-Open: |
09:15 น. - 09:45 น. |
|
Open: |
06:45 น. - 13:15 น. |
Open: |
06:45 น. - 12:30 น. |
ช่วงบ่าย (Night Session) |
ช่วงบ่าย |
|
Pre-Open: |
14:15 น. - 14:30 น. |
Pre-Open: |
13:45 น. - 14:15 น. |
Open: |
14:30 น. - 17:00 น. |
Open: |
14:15 น. - 16:55 น. |
เดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ |
ทุกเดือนปฏิทินที่ต่อเนื่องเรียงลำดับกัน 6 เดือนที่ใกล้ที่สุด |
ทุกเดือนปฏิทินที่ต่อเนื่องเรียงลำดับกัน 7 เดือนที่ใกล้ที่สุด |
วันซื้อขายวันสุดท้าย |
ช่วงเช้าของวันทำการ 4 วันก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ส่งมอบหรือชำระราคาของสัญญาหมดอายุ |
วันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ส่งมอบหรือชำระราคาของสัญญาหมดอายุ |
วิธีการส่งมอบหรือชำระราคา |
ชำระราคาด้วยการส่งมอบสินค้า
(Physical Delivery) |
ชำระราคาด้วยการส่งมอบสินค้า
(Physical Delivery) |
หลักประกันขั้นต้น
(Initial Margin) |
105,000 เยน* |
49,400 บาท* |
อัตราค่าธรรมเนียม |
Internet |
800 เยน |
225 บาท |
เจ้าหน้าที่การตลาด |
900 เยน |
250 บาท |
*ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.พ. 2017 (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
วิธีการส่งคำสั่งซื้อขาย
- ซื้อขายได้ด้วยตัวเองผ่านอินเตอร์เน็ต (POEMS Professional) และ Mobile Application ทั้ง iOS และ Android)
- ส่งคำสั่งผ่านเจ้าหน้าที่ฝ่าย Global Markets ได้ตลอด 24 ชม. โทร. 02-635-1717
ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ทำไมต้องซื้อขายยางพาราในตลาด Futures
- สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้น (Long Position) และขาลง (Short Position)
ตัวอย่าง: นาย ก. เป็นนักลงทุนแบบเก็งกำไร โดยได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของราคายางพารามาซักระยะแล้วพบว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งผลิตยางพารารายใหญ่ของโลก จะส่งผลให้ปริมาณผลผลิตยางพาราที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณลดลง และนาย ก. คาดว่าราคายางพาราจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงได้ทำการเปิดสถานะ Long Position จำนวน 2 สัญญา ที่ราคา 250.0 เยนต่อกิโลกรัม โดยคาดว่าจะสามารถขายทำกำไรได้ที่ราคา 300.0 เยนต่อกิโลกรัม ซึ่งหากเป็นไปตามที่นาย ก. คาดการณ์ นาย ก. จะได้กำไรเป็นเงินจำนวน 500,000 เยน
- เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง (Hedging)
ตัวอย่าง: บริษัท A ประกอบธุรกิจปลูกยางพาราและมีสินค้ายางแผ่นรมควันชั้น 3 จริง 15,000 กิโลกรัม (15 ตัน) โดยมีแผนที่จะขายสินค้าในอีก 3 เดือนข้างหน้า (เดือนพฤษภาคม) อย่างไรก็ดี บริษัท A วิเคราะห์แล้วพบว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดต่ำลง จะส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตยางสังเคราะห์ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนของยางพาราลดลงตาม ทำให้ผู้ผลิตสินค้าหันไปใช้สินค้าที่ผลิตจากยางสังเคราะห์แทน และอาจส่งผลให้ราคายางพาราลดลง บริษัท A จึงทำการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) โดยการเปิดสถานะ Short Position เดือนพฤษภาคม จำนวน 3 สัญญา (เทียบเท่ายางแผ่นรมควันชั้น 3 จริง 15,000 กิโลกรัม หรือ 15 ตัน) ที่ราคา 300.0 เยนต่อกิโลกรัม ซึ่งหากเหตุการณ์เป็นไปตามที่บริษัท A คาดการณ์ไว้ราคายางแผ่นรมควันที่จะขายในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะลดต่ำลง แต่บริษัท A จะได้เงินชดเชยจากการ Short Position แทน
- ไม่จำเป็นต้องมีสินทรัพย์จริงในการซื้อขาย
- ในการซื้อขายสัญญา Futures ผู้ลงทุนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องถือครองสินค้าอ้างอิงจริง แต่สามารถทำการซื้อขายเพื่อเก็งกำไรได้ หรือหากมีสินค้าอ้างอิงจริงก็สามารถใช้สัญญา Futures ช่วยในการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากความผันผวนของราคายางพารา
- ใช้เงินในการลงทุนน้อย
- ในการซื้อขายสัญญา Futures ผู้ลงทุนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อขายเต็มจำนวนมูลค่าของสัญญา แต่เพียงแค่ต้องวางเงินหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) ซึ่งจะมีอัตราทด (Leverage) อยู่ที่ประมาณ 13-14 เท่า
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายยางพาราในตลาด TOCOM และ TFEX
- ตลาด TOCOM มีสภาพคล่องสูงกว่า (ปริมาณการซื้อขายสูงกว่า)
ณ วันที่ 16 ก.พ. 2017 – ปริมาณการซื้อขายทั้งหมด 7,968 สัญญา
http://www.tocom.or.jp/market/kobetu/rubber.html
- ตลาด TOCOM มีชั่วโมงการซื้อขายยาวนานกว่า โดยเริ่มเปิดซื้อขายตั้งแต่เวลา 6.45 น. ไปจนปิดตลาด ณ สิ้นวันที่เวลา 17.00 น. ทำให้นักลงทุนมีโอกาสในการซื้อขายตามความสะดวกมากกว่า
ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในต่างประเทศอื่นๆ:
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคายางพารา
- ปริมาณการผลิต (Supply) และปริมาณความต้องการ (Demand)
- สภาพอากาศ (Weather)
- สินค้าคงคลัง (Inventory)
- อื่นๆ เช่น สภาวะเศรษฐกิจ ค่าเงิน ราคาน้ำมัน เป็นต้น
บริการเพิ่มเติม
- อบรมสัมมนาเป็นประจำทุกเดือน
- บริการ One-to-One Coaching
- มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
- มีบทวิเคราะห์ยางพาราตลาด TOCOM
ทั้งนี้ หากลูกค้าท่านใดต้องการเปิดบัญชีซื้อขายหรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อกลับได้ที่
02-635-1717 หรือ
globalmarkets@phillip.co.th