PhillipCapital Your Partner in Investment

poems poems

บริการบริษัท
Options คืออะไร

Options คือ ตราสารสิทธิที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อหรือผู้ถือ (Options Holder) ในการซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงในอนาคตจากผู้ขาย
(Options Writer) ด้วยราคาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า หรือ ราคาใช้สิทธิ (Exercise Price หรือ Strike Price) ภายในวันที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
หรือวันหมดอายุ (Expiration Date หรือ Exercise Date)  โดยผู้ซื้อหรือผู้ถือจะต้องจ่ายเงิน (Premium) ให้แก่ผู้ขายเพื่อแลกกับสิทธิ
ดังกล่าว
 
 

1. Call Options 
ออปชันที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือ (ผู้ซื้อ) ในการ ซื้อ สินทรัพย์อ้างอิงด้วยราคาใช้สิทธิ (Strike Price) จากผู้ออก (ผู้ขาย) ในระยะเวลาที่กำหนด

2. Put Options

ออปชันที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือ (ผู้ซื้อ) ในการ ขาย สินทรัพย์อ้างอิงด้วยราคาใช้สิทธิ (Strike Price) ให้แก่ผู้ออก (ผู้ขาย) ในระยะเวลาที่กำหนด

           

                 

 
 
Premium คือ ราคาที่ใช้สำหรับซื้อขาย Options ที่ผู้ซื้อ (Long Position) จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ขาย (Short Options) เพื่อแลกกับสิทธิที่ผู้ซื้อจะได้รับตามเงื่อนไขของ Options นั้น โดยในกรณีของ Call Options ผู้ซื้อจะได้สิทธิในการ ซื้อ สินทรัพย์อ้างอิงตามราคาใช้สิทธิที่ถูกกำหนดไว้ หรือ ในกรณีของ Put Options ผู้ซื้อจะได้สิทธิในการ ขาย สินทรัพย์อ้างอิงตามราคาใช้สิทธิที่ถูกกำหนดไว้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Premium หรือ ราคาซื้อขาย Options จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ 
  • มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)
  • มูลค่าตามระยะเวลา (Time Value)
Premium = Intrinsic Value + Time Value

1. มูลค่าที่แท้จริงของ Options (Intrinsic Value) 
มูลค่าในตัวของ Options เอง กล่าวคือ Options ที่มีสถานะได้ประโยชน์ (In the Money: ITM) จะมีมูลค่าที่แท้จริง มากกว่า ศูนย์ ส่วน Options ที่มีสถานะไม่ได้ และไม่เสียประโยชน์ (At the money: ATM) และ Options ที่มีสถานะเสียประโยชน์ (Out of the money: OTM)
จะมีมูลค่าแท้จริง เท่ากับ ศูนย์ (ไม่มีมูลค่าในตัวของมันเอง)

2. มูลค่าตามระยะเวลา (Time Value)
มูลค่าของ Options ที่เกิดจากอายุคงเหลือของ Options โดย Options ที่มีอายุคงเหลือมาก ย่อมจะต้องมีมูลค่าตามระยะเวลามากกว่า Options ที่มีอายุคงเหลือน้อยกว่า เพราะ Optionsที่มีอายุคงเหลือมาก แสดงว่าผู้ถือ Options นั้นๆจะมีโอกาส หรือระยะเวลาที่จะได้กำไรจาก Optionsนั้นๆมากกว่า
 
 
1. ขาดทุนจำกัด แต่ผลตอบแทนไม่จำกัด

สิ่งที่เป็นจุดเด่นอีกข้อหนึ่ง ที่ออปชันมีเหนือการลงทุนในหลักทรัพย์อื่นๆ อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรือ ฟิวเจอร์ส นั่นก็คือนักลงทุนที่ลงทุนที่มี สถานะซื้อออปชันจะสามารถจำกัดความเสี่ยง หรือผลการขาดทุนที่ตนเองสามารถรับได้ ไว้เป็นจำนวนที่แน่นอน (ซึ่งเท่ากับค่า Premium นั่นเอง) แต่ในขณะเดียวกัน นักลงทุนคนนั้น อาจสามารถทำกำไรจากออปชันได้อย่างไม่จำกัด ทั้งนี้เนื่องจาก ผู้ที่มีสถานะซื้อในออปชัน เป็นผู้ที่มีสิทธิที่จะซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิง ณ วันที่ออปชันหมดอายุ ซึ่งผู้มีสถานะซื้อนี้ สามารถเลือก ที่จะใช้สิทธิในกรณีที่ใช้สิทธิแล้วได้กำไร หรือไม่ใช้สิทธิในกรณีที่ใช้สิทธิ แล้วไม่เกิดประโยชน์ ก็ได้
 
2. เพิ่มผลตอบแทนจากพอร์ทหุ้นด้วย “Covered Call”

“Covered Call” คือกลยทุธ์ที่นักลงทุนคนหนึ่งขาย Call Options ในขณะที่นักลงทุนคนนั้นมีหุ้นอยู่ในมือ โดยการทำกลยุทธ์ในลักษณะนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มผลตอบแทน ของพอร์ทหุ้นจากการได้รับค่า Premium จากการขาย Call Options โดยนักลงทุนจะเข้ามาลงทุนในลักษณะ Covered Call นี้ ในสภาพตลาดที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ถึง ตลาดแบบขาลง
 
“มีสถานะซื้อในหุ้นอ้างอิง ร่วมกับการมีสถานะขายใน Call Options”
ตัวอย่าง
พอร์ทหุ้นของนักลงทุนคนหนึ่งประกอบไปด้วย หุ้น จำนวน 2,000 หุ้น ที่มีราคาหุ้นละ 26 บาท โดยคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 52,000 บาท
(2,000 x 26)

ถ้า Call Options (อายุคงเหลือ 80 วัน)
          Strike price = 30 บาท
          Premium = 1.10 บาท

การลงทุนด้วยกลยุทธ์ Covered Call
ขาย Call Options จำนวน 10 สัญญา ซึ่งจะได้ค่า Premium มา 2,200 บาท (10 x 1.1 x 200) ณ วันที่ Options หมดอายุ
  • ถ้า ราคาหุ้นอ้างอิง < 30 ไม่ต้องขายหุ้นตามภาระผูกพันของ Call Options และนอกจากนี้ ยังได้รับค่า Premium จากการขาย Call Options จำนวน 2,200 ด้วย
  • ถ้า ราคาหุ้นอ้างอิง > 30 ต้องขายหุ้นตามภาระผูกพันของ Call Options ที่ราคา 30 บาท แต่ ว่าในขณะเดียวกันก็จะได้ค่า Premium จำนวน 2,200 ด้วย ซึ่งเปรียบเสมือนการขายหุ้น อ้างอิงที่ราคา 31.1 บาท
        เปรียบเสมือนว่า นักลงทุนคนนั้น ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากในกรณีที่ ถ้าขายหุ้นที่ราคา 26 บาท ถึงประมาณ 19.3 %
[1.1 x 26 x (365/80)]

     
3. ป้องกันความเสี่ยงของพอร์ทหุ้นด้วย “Protective Put”

          กลยุทธ์ Protective Put หรือ การใช้ Put Options ป้องกันความเสี่ยงแก่พอร์ทหุ้น คล้ายๆกับการซื้อประกันรถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์ไม่มีการทำประกันใดๆไว้เลย หากรถยนต์คันนั้นไปประสบอุบัติเหตุ จะสร้างความเสียหายแก่เจ้าของรถ ที่จะต้องจากค่าซ่อมเต็มจำนวนด้วยตัวเอง ในทางตรงกันข้ามถ้าหากรถยนต์คันนั้นมีการทำประกันไว้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุเจ้าของรถยนต์ อาจจะไม่ต้องจ่ายเงินค่าซ่อมเองเต็มจำนวน หรือยิ่งไปกว่านั้น อาจจะไม่ต้องจ่ายเงินค่าซ่อมเองเลย ซึ่งค่าซ่อมที่เจ้าของรถควรจะต้องจ่ายเอง จะมีบริษัทประกันมาเป็นผู้รับภาระแทน ซึ่งการทำประกันเจ้าของรถยนต์จะต้องจ่ายเบี้ยประกัน ให้แก่บริษัทประกันเพื่อแลกกับสิทธินี้ 

          เช่นเดียวกันกับในตลาด Options รถยนต์คันนั้นก็เปรียบเสมือนพอร์ทหุ้นของนักลงทุนคนหนึ่งๆ ที่เจ้าของพอร์ทอาจจะประสบกับผลขาดทุนอย่างหมาศาลถ้าหากว่าราคาหุ้นในพอร์ทลดลง ดังนั้น Put Options ก็เปรียบเสมือนกับประกันฉบับหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ป้องกับความเสี่ยงนั้นได้ โดยนักลงทุนที่เข้าไปซื้อ Put Options จะต้องจ่ายค่า Premium ให้กับผู้ขาย เพื่อแลกกับสิทธิในการขายหุ้นตามราคาที่กำหนดให้แก่ผู้ขาย
 
"มีสถานะซื้อในหุ้น ร่วมกับมีสถานะซื้อใน Put Options"
ตัวอย่าง 
พอร์ทหุ้นของนักลงทุนคนหนึ่งประกอบไปด้วย หุ้น จำนวน 2,000 หุ้น ที่มีราคาหุ้นละ 26 บาท โดยคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 52,000 บาท
(2,000 x 26)

ถ้า Put Options (อายุคงเหลือ 80 วัน)
          Strike price = 26 บาท
          Premium = 1.00 บาท

การลงทุนด้วยกลยุทธ์ Protective Put
ซื้อ Put Options จำนวน 10 สัญญา ซึ่งจะต้องจ่ายค่า Premium จำนวน 2,000 บาท
ณ วันที่ Options หมดอายุ
  • ถ้า ราคาหุ้นอ้างอิง < 26 ได้กำไรจากการใช้สิทธิของ Put Options ขายหุ้นที่ราคา 26 บาท
  • ถ้า ราคาหุ้นอ้างอิง > 26 ไม่ใช้สิทธิของ Put Options นั้น แต่จะได้กำไรจากการที่มูลค่าหุ้น ในพอร์ทสูงขึ้น
 
 
 
Payoff Diagram เครื่องมือง่ายๆในการเรียนรู้ Options

          Payoff diagram เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้สามารถทำความเข้าใจ และรู้ถึงผลกำไร หรือผลขาดทุน จากการลงทุนในออปชันในลักษณะต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
 
รูปร่างหน้าตาของ Payoff Diagram
แกนตั้งของกราฟแสดงถึงผลกำไร หรือขาดทุนจากออปชัน ณ วันที่ออปชันนั้นๆหมดอายุ ในขณะที่แกนนอนแสดงถึงราคาสินทรัพย์อ้างอิงของออปชัน ณ วันที่ออปชันนั้นๆหมดอายุเช่นเดียวกัน จากการที่กราฟ Payoff ดังกล่าว จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราคาสินทรัพย์อ้างอิงของออปชัน และผลกำไร หรือขาดทุนที่จะได้รับ ณ วันที่ออปชันหมดอายุ เพราะฉะนั้น มูลค่าของออปชัน ณ วันนั้นจะไม่รวม มูลค่าตามระยะเวลา จะมีเพียงแต่ มูลค่าที่แท้จริง ในตัวมันเองเท่านั้นและเพื่อความสะดวกกราฟดังกล่าว จะไม่รวมค่าคอมมิชชัน หรือค่าใช้จ่ายๆอื่นๆในการลงทุนในออปชัน

        แกนตั้ง แสดงถึง ผลกำไร หรือผลขาดทุนจากการลงทุนในออปชันนั้นๆ โดย ส่วนบนของแกนจะแสดงถึงผลกำไร และส่วนล่างของแกนจะแสดงถึงผลขาดทุน

       แกนนอน แสดงถึง ราคาสินทรัพย์อ้างอิงของออปชันนั้นๆ โดยราคาที่อยู่ทางด้านขวาของแกน จะมีค่าสูงกว่าราคาที่อยู่ทางด้านซ้าย 
 
ตัวอย่างกราฟ Payoff Long Call Options
 

ความหมาย Payoff ของสถานะ Long Call Options 

        ถ้าราคาสินทรัพย์อ้างอิง ต่ำกว่า ราคาใช้สิทธิ (Strike Price) ผู้ที่มีสถานะ Long Call Options จะขาดทุนเป็นเงินจำนวนหนึ่งเสมอ (Premium) แต่ถ้าราคาสินทรัพย์อ้างอิง สูงกว่า ราคาใช้สิทธิ ผู้ที่มีสถานะ Long Call Options จะเริ่มได้ประโยชน์จาก Call Options นั้น ซึ่งทำให้ผลขาดทุนเริ่มลดลงเรื่อย จนกระทั่งราคาสูงถึงจุดๆหนึ่ง (Breakeven) ผู้ที่มีสถานะ Long Call Options จึงจะเริ่มได้กำไร
 
ตัวอย่างกราฟ Payoff ของ 4 กลยุทธ์พื้นฐานของการลงทุนใน Options
 
Long Call Options
Short Call Options
Long Put Options
Short Put Options